ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย

บทนำ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยเป็น
อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศและสามารถทำรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้
เนื่องจากนโยบายภาครัฐที่ให้การสนับสนุน และส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์และ
อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มาโดยตลอด และมีนโยบายในการพัฒนาและ
สนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้เป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์แห่งเอเชีย
(Detroit of Asia) ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยมีแนวโน้มการ
เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการผลิตการส่งออก และการลงทุน
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต ในปี 2555 ผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกา กำลังถึงจุดอิ่มตัวจากการครองตลาดมาเป็นระยะ
เวลานาน โดยต่างมุ่งค้นหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อช่วยประหยัดพลังงานแทน ขณะที่ประเทศ
ผู้ผลิตรถยนต์รายย่อย นำโดย อินเดีย จีน โปแลนด์ ไทย และอิหร่าน มีโอกาสที่จะเติบโต
มากขึ้น ประกอบกับความต้องการใช้รถยนต์ที่คาดว่าจะสูงถึง 73 ล้านคัน ในปี พ.ศ.2555
เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 23 ล้านคัน
สำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการ
พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์และเห็นว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวมีศักยภาพ
ในการเสียภาษี จึงได้ศึกษา ค้นคว้า เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้ทีมกำกับใช้ประกอบการกำกับ
ดูแลผู้ประกอบการที่อยู่ในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มี
ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งด้านการผลิต การตลาด
การจ้างงาน การพัฒนาเทคโนโลยี และความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
อื่นๆ อีกหลายประเภท ในอดีตที่ผ่านมาประเทศไทยผลิตรถยนต์เกือบทั้งหมด
เพื่อจำหน่ายในประเทศ มีการส่งออกน้อยมาก แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
(ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537) มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์
เนื่องจากรัฐบาลได้ปรับนโยบายให้มีความเสรีมากขึ้น พร้อมกับเปลี่ยน
นโยบายจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า มาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก
โดยมุ่งผลักดันให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ จึงเกิดการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุน นโยบาย
ด้านภาษี และด้านอื่น ๆ ของภาครัฐ จนกระทั่งก่อให้เกิดการย้ายฐานการผลิต
ของบริษัทต่างประเทศมาสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
ในปัจจุบัน ประเทศไทยเกือบจะมีสถานะเป็นศูนย์รวมของผู้ผลิตยานยนต์ทั่วโลกอันเนื่องมาจากการลงทุนข้ามชาติของค่ายรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น ยุโรป และอเมริกาเหนือ หลายยี่ห้อที่ประกาศใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออก ซึ่งรัฐบาลได้เล็งเห็นว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี
มีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต เพราะมีมูลค่าทางการตลาดสูง มีการจ้างงาน และเกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก โดยมี
การสร้างรายได้ถึงร้อยละ 16 ของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ มีปริมาณการจ้างงานรวมที่มากถึงร้อยละ 8 ของปริมาณการจ้างงานทั้งประเทศ อีกทั้งยัง
เป็นอุตสาหกรรมที่สามารถเป็นตัวเชื่อมให้อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันและขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คณะกรรมการพัฒนาขีด
ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้วางเป้าหมายทางการตลาดและภาพลักษณ์ให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยเป็น “ดีทรอยท์แห่งเอเชีย
(Detroit of Asia)” ภายในปี พ.ศ. 2553 และถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของชาติ แต่สิ่งที่ท้าทายในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์
ก็คือ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ความพร้อมของปัจจัยสนับสนุนการผลิต เช่น บุคลากร มาตรฐานการผลิต
ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนเครื่องมือทดสอบต่างๆ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัด
โปรแกรมพัฒนาเทคโนโลยีด้านการออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อที่จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมยานยนต์เติบโตอย่างเข้มแข็งและมีความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งต่างประเทศอย่างแท้จริง
       โครงสร้างการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยประกอบไปด้วยการผลิตรถยนต์ 2 ประเภท คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์เพื่อใช้ในการ
พาณิชย์ โดยการผลิตรถยนต์ของไทยส่วนใหญ่เป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
เทคโนโลยีการผลิต เป็นการนำเอาชิ้นส่วนต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกัน โดยรถยนต์ 1 คันประกอบไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆ กว่าพันรายการ โดยใช้
แรงงานและเครื่องจักรเข้ามามีส่วนในการประกอบรถยนต์ ในส่วนของอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากบริษัทผลิตรถยนต์ข้ามชาติ
หรือบรรษัทข้ามชาติ โดยบรรษัทข้ามชาติเหล่านี้จะทำการผลิตหรือประกอบรถยนต์ภายใต้แบรนด์ของบริษัทแม่เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไป
จำหน่ายยังต่างประเทศ และทำการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อใช้ในผลิตรถยนต์ทั้งในและต่างประเทศ
โครงสร้างต้นทุนการผลิตรถยนต์รถยนต์ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนของชิ้นส่วนรถยนต์ โดยมากกว่าร้อยละ 60 เป็นต้นทุนการผลิตโดยรวม รองลงมา
ได้แก่ ค่าแรงงาน ดอกเบี้ย และต้นทุนอื่นๆ ซึ่งประกอบไปด้วยภาษีสรรพสามิต ค่าลิขสิทธิ์ ค่าโสหุ้ยการผลิต
จากสภาพเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยส่งผลกระทบต่อยอดขายรถยนต์ที่ตกต่ำเกือบทั่วโลก ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์โลกต้องปรับโครงสร้างการ
ผลิต ซึ่งการปรับโครงสร้างดังกล่าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันด้วยการลดจำนวนโรงงานผลิตลง และย้ายการผลิตจากโรงงานหลายแห่งมารวมอยู่ที่
ใดที่หนึ่งเพื่อสร้างฐานการผลิตในแต่ละภูมิภาคซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทยอย่างไม่อาจเลี่ยงในฐานะที่ไทยเป็นฐานการผลิตให้กับ
บริษัทรถยนต์ต่างประเทศต่างๆ
ฐานการผลิตของบริษัทรถยนต์ที่สำคัญในไทย
ค่ายรถยนต์อเมริกัน
ค่ายรถยนต์อเมริกันยังคงให้ความสำคัญต่อฐานการผลิตในไทย ถึงแม้ว่าบริษัทรถยนต์ต่างๆจะประสบกับปัญหาสภาพคล่องจากวิกฤตอุตสาหกรรม
ยานยนต์ในปี 2551 แต่ประเทศไทยยังได้รับการตอบรับที่ดีในฐานะฐานการผลิตรถยนต์ที่มีศักยภาพให้กับบริษัทรถยนต์จากต่างประเทศ โดยที่ค่ายรถเกือบ
ทั้งหมดยังคงรักษาฐานการผลิตเดิมในไทยไว้ และบางค่ายมีแผนที่จะขยายฐานการผลิตรถยนต์บางรุ่นเพิ่มเติมขึ้นด้วยทั้งที่ได้ดำเนินการไปแล้วและที่วางแผนจะ
ดำเนินการในอนาคต ซึ่งการแสดงเจตจำนงที่จะเดินหน้าลงทุนในประเทศไทยต่อเนื่องดังกล่าว แม้กระทั่งบริษัทรถยนต์ที่บริษัทแม่ประสบปัญหาต้องดำเนินการ
ฟื้นฟูกิจการในสหรัฐอเมริกา ยืนยันที่จะลงทุนและตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์บางประเภทที่สำคัญในระดับโลกด้วยซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ที่สำคัญ
อย่างหนึ่งว่าไทยมีศักยภาพในการเป็นทั้งฐานการผลิตและการทำตลาดสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของภูมิภาค และน่าจะเป็นสัญญาณที่
ดีต่ออนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ที่จะกลับมาเติบโตได้ดีขึ้นในฐานะศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคอาเซียน
ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น
ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นหันไปขยายการลงทุนในจีน อินเดีย และเวียดนามมากขึ้นจากวิกฤตอุตสาหกรรมยานยนต์ส่งผลให้บริษัทรถยนต์ต่างต้องปรับกล
ยุทธ์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการทำตลาดโดยการเลือกฐานการผลิตและการทำตลาดที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ต่างๆ ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้รับการ
ลงทุนย่อมได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจเลี่ยง โดยแม้ว่าค่ายรถอเมริกันยังคงเน้นความสำคัญของฐานการผลิตในไทยขณะที่ค่ายญี่ปุ่นก็ยังมีการขยายการลงทุนใน
ไทย แต่ได้ขยายการลงทุนในประเทศอื่นๆของญี่ปุ่นโดยเฉพาะ จีน อินเดีย และเวียดนาม อย่างต่อเนื่องและเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีต้นทุนที่ต่ำกว่า โดยเฉพาะ
อุตสาหกรรมยานยนต์ในเวียดนามถึงแม้ว่าไม่สามารถพัฒนาขึ้นเทียบเคียงกับไทยได้เนื่องจากความไม่พร้อมในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องต่างๆ รวมถึงระบบ
สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน แต่ปัจจัยค่าจ้างแรงงานราคาต่ำกว่า และแนวโน้มจะเป็นตลาดขนาดใหญ่ในอนาคต เป็นปัจจัยดึงดูดการลงทุนทางตรงด้าน
อุตสาหกรรมยานยนต์จากประเทศต่างๆที่สำคัญ ประกอบกับเวียดนามมีความพยายามในการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคของตนให้ดีขึ้น แม้ว่าปัจจุบันนี้
เวียดนามจะต้องพึ่งการนำเข้าชิ้นส่วนสำเร็จและกึ่งสำเร็จรูปเข้ามาประกอบในประเทศในสัดส่วนที่สูง แต่ก็มีโอกาสที่พัฒนาขึ้นมาเป็นประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่
สำคัญรายหนึ่งของภูมิภาคได้ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวมีโอกาสที่จะส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยในอนาคตได้ ดังนั้น ประเทศไทยในฐานะผู้รับการ
ลงทุนและอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาประเทศจึงจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างความน่าดึงดูด เพื่อรักษาการลงทุนจากต่างประเทศให้มีอย่างต่อเนื่องต่อไป
แนวทางในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ

          ปัจจุบันประเทศไทยจะยังเป็นที่สนใจของบริษัทรถยนต์ต่างชาติเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตแห่งหนึ่งของภูมิภาค แต่การกำหนดกลยุทธ์ในการจัดสรร
การผลิตระหว่างประเทศของบริษัทข้ามชาติขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้านที่สำคัญ เช่น ความพร้อมของระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน
ต่างๆ ต้นทุนดำเนินการโดยเฉพาะต้นทุนแรงงาน ความเสี่ยงด้านค่าเงินที่ผันผวน ความมีเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ เป็นต้น โดยที่ไทยปัจจุบันมีจุด
แข็งและจุดอ่อนของประเทศที่จะเกื้อหนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ดังนี้
จุดแข็งในการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ คือ ศักยภาพในการผลิตรถยนต์ของไทยที่อยู่ในระดับมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะการผลิตรถ
ปิกอัพ 1 คัน ประกอบกับระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ดี และความพร้อมและจำนวนที่มากเพียงพอของเครือข่ายอุตสาหกรรมสนับสนุนโดยเฉพาะในส่วน
ของชิ้นส่วนยานยนต์ระดับต่างๆในไทย รวมถึงนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี นอกจากนี้ฝีมือแรงงานที่
เป็นที่ยอมรับในระดับค่าจ้างต่ำ และขนาดตลาดรถยนต์ในประเทศที่ใหญ่พอโดยปัจจุบันอัตราการครอบครองรถยนต์ต่อประชากรอยู่ในอัตราส่วนประชากร
ประมาณ 10 คนต่อรถยนต์ 1 คัน รวมถึงการมีข้อตกลงเขตเสรีการค้าที่เป็นประโยชน์ต่อการทำตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะกับภูมิภาคอาเซียนและออสเตรเลีย
ทำให้การลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยมีความน่าสนใจอยู่มาก
จุดอ่อนในปัจจุบันที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งได้ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนและการดำเนินธุรกิจมา
อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการดำเนินนโยบายของภาครัฐในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์และพลังงานในระยะยาวยังไม่มีความชัดเจน ขณะที่
ต้องเผชิญกับทิศทางการขยายตัวของการทำข้อตกลงการค้าเสรีก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และศักยภาพการผลิตและการตลาดของประเทศเพื่อนบ้านบาง
แห่ง เช่น เวียดนามที่มีแต่จะพัฒนาขึ้นค่าจ้างแรงงานยังต่ำกว่าไทย ประกอบกับไทยยังต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจากต่างประเทศอยู่
มากซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการดำเนินงานและการพัฒนาการผลิตในระดับสูงต่อไป

  ในช่วงครึ่งหลังปี 2551 ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์โลกต้องเผชิญกับยอดขายที่
หดตัวอย่างรุนแรงไปเกือบทุกภูมิภาคของโลก เป็นผลสืบเนื่องมาจากวิกฤตราคาน้ำมันที่เพิ่ม
สูงขึ้นอย่างมาก และวิกฤตการเงินซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมหลายประเภท
ทำให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ทำให้ค่ายรถยนต์ต่างๆทั้งจากเอเชีย ยุโรป และ
อเมริกาเหนือ ต่างก็พยายามนำเสนอกลยุทธ์ต่างๆมาจูงใจลูกค้าเพื่อกระตุ้นยอดขายให้
ได้มากที่สุด แม้แต่รัฐบาลในหลายๆประเทศที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นของตนเองต่างก็
ออกมาตรการหลายรูปแบบเพื่อช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศตน เช่น จีนให้
เงินสนับสนุนการเปลี่ยนรถเก่า อินเดียลดดอกเบี้ยสินเชื่อสำหรับการซื้อรถใหม่ และการที่
สหรัฐฯให้เงินกู้จำนวนมากภายใต้เงื่อนไขแก่ค่ายรถยนต์ขนาดใหญ่บางรายเพื่อเสริมสภาพ
คล่อง เป็นต้น
การเปิดเสรีการค้า

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ไทยและ
กลุ่มประเทศก่อตั้งอาเซียนอีก 5 ประเทศ ได้แก่
มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย บรูไน และ
ฟิลิปปินส์ ได้ลดภาษีนำเข้าสินค้ากว่า 8,000
รายการ ลงเหลือ 0% ภายใต้กรอบอาฟต้า (AFTA)
ในกลุ่มสินค้าที่มีการลดภาษีตามปกติ (Normal
Track) ทุกรายการ โดยสินค้าในกลุ่มรถยนต์และ
ชิ้นส่วนของไทยจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าประเภทนี้ ซึ่งมี
ผลทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าในกลุ่มนี้ของไทยและ
ประเทศคู่เจรจาลดลงเหลือ 0% ในทันที จากการ
ยกเลิกอุปสรรคทางภาษีระหว่างไทยและประเทศคู่
เจรจาย่อมจะก่อให้เกิดทั้งโอกาสและความท้าทาย
ค รั้ง ใ ห ม่ท า ง ก า ร ค้า ร ะ ห ว่า ง ป ร ะ เ ท ศ ข อ ง
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสในการขยายการส่งออก
ชิ้นส่วนรถยนต์ของไทยในปี 2553 นี้ ทั้งในส่วน
ของชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ (OEM) และชิ้นส่วน
อะไหล่ (REM) ไปสู่ตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาก ทั้ง
ตลาดผู้ผลิตรถยนต์ และตลาดผู้บริโภครถยนต์
การเปิดเสรีการค้าทำให้กลุ่มประเทศก่อตั้งอาเซียน 6 ประเทศนี้กลายเป็นเสมือนตลาดเดียว ส่งผลให้ตลาดผู้ผลิต
และผู้บริโภคขยายใหญ่ขึ้นด้วย และทำให้บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ต่างชาติจากญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป มีโอกาสปรับกล
ยุทธ์การผลิตและการทำตลาด โดยเฉพาะการเลือกวางตำแหน่งฐานการผลิตรถยนต์ประเภทต่างๆ และฐานการผลิต
ชิ้นส่วนรถยนต์ ที่เหมาะสมตามศักยภาพของตลาด ความสามารถในการผลิต และต้นทุนในการผลิต การเปิดเสรีการค้าถือ
เป็นการเปิดโอกาสให้ไทยเป็นประเทศผู้นำในอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนของภูมิภาคซึ่งมีขนาดตลาดที่ใหญ่ที่สุดใน
ภูมิภาค และมีจุดแข็งที่ค่อนข้างโดดเด่นด้านการมีเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนจำนวนมากที่มีความพร้อมรวมถึงความสามารถ
จนเป็นที่ยอมรับ โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนสำหรับรถกระบะของไทย ในขยายฐานการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ โดยเฉพาะ
เครื่องยนต์ ชุดสายไฟรถยนต์ ตัวถัง กระจก ชุดเกียร์ และชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่ง
มีมูลค่าสูงและได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพ
Supply Chain ของอุตสาหกรรมยานยนต์

โครงการสร้างเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) ของอุตสาหกรรมยานยนต์
โครงสร้างเครือข่ายวิสาหกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ (Thai automotive cluster) ไทยประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วนคือ

1. กิจกรรมหลัก (core activities) ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบยานยนต์ และผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
2. กิจกรรมสนับสนุน (supporting activities) ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมต้นน้ำ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ และกลุ่มนโยบายและองค์กรสนับสนุน
การแบ่งกลุ่มอาจเขียนได้ตามแผนภาพโครงสร้างเครือข่ายวิสาหกิจ




จากแผนภาพจะเห็นได้ว่า กิจกรรมหลักของเครือข่ายวิสาหกิจยานยนต์ไทย คือ

1. กลุ่มผู้ประกอบยานยนต์ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบรถยนต์ปิ๊กอัพ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล และกลุ่มผู้ประกอบรถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่
กำหนดนโยบายและกลยุทธ์ในการแข่งขันสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งหมด
2. กลุ่มผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งจำแนกระดับตามโครงสร้างการผลิตและลำดับได้ดังนี้
2.1 ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับ 1 (First Tier) เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนประเภทอุปกรณ์ป้อนโรงงานประกอบ รถยนต์โดยตรง ซึ่งบริษัทจะต้องมี
ความสามารถทางเทคโนโลยีในการผลิตชิ้นส่วนตามมาตรฐานที่ผู้ประกอบรถยนต์กำหนด
2.2 ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับ 2 (Second Tier) เป็นการผลิตชิ้นส่วนย่อย (Individual Part) เพื่อป้อนผู้ผลิตในลำดับ 1 อีกต่อหนึ่ง โดยจะได้รับการ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับ 1
2.3 ผู้ผลิตชิ้นส่วนลำดับ 3 (Third Tier) ผลิตวัตถุดิบป้อนผู้ผลิตลำดับ 1 หรือ 2 อีกต่อหนึ่ง
3. กลุ่มอุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เช่น เหล็ก กระจกพลาสติก หนัง ผ้า ยาง จะผลิตตามความต้องการของผู้ผลิตชิ้นส่วน
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มเครื่องจักร แม่แบบแม่พิมพ์ อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน และเครื่องมือต่างๆ
4. กลุ่มที่เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง คือ กลุ่มให้บริการ เช่น บริการด้านกระจายสินค้า บริการด้านการเงิน บริการด้านการตรวจสอบและทดสอบ เป็นต้น

5. กลุ่มนโยบายและสนับสนุนประกอบด้วย 3 กลุ่มย่อย ได้แก่
5.1 กลุ่มภาครัฐ ซึ่งทำหน้าที่วางแผนและนโยบายระดับชาติ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น

5.2 กลุ่มสถาบันยานยนต์และสมาคมผู้ประกอบการต่างๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และ
ระหว่างภาคเอกชนด้วยกันเอง อาทิ สถาบันยานยนต์ สมาคม อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย เป็นต้น
5.3 กลุ่มสถาบันการศึกษาสถาบันเทคนิคและสถาบันวิจัยต่างๆ เช่น คณะวิศวกรรมศาสตร์ยานยนต์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบัน
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าต่างๆ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น
       อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เกิดขึ้นมาพร้อมกับอุตสาหกรรมยานยนต์ตั้งแต่ปี 2504 จากการดำเนินนโยบายและมาตรการของรัฐบาลที่จะให้เกิด
การผลิตรถยนต์เพื่อทดแทนการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปจากต่างประเทศ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมรถยนต์โดยทั่วไปการ
ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในสองลักษณะ คือ
1.ชิ้นส่วนสำหรับประกอบรถยนต์ (Original Equipment) เป็นชิ้นส่วนที่ผู้ประกอบรถยนต์ทำการผลิตเองหรือว่าจ้างผู้ผลิตรายอื่นทำการผลิตให้ เพื่อ
นำไปใช้ในการประกอบรถยนต์โดยเฉพาะ ชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นในลักษณะนี้จะมีคุณภาพสูงตามมาตรฐานของผู้ผลิต
2. ชิ้นส่วนสำหรับการเปลี่ยนหรือซ่อม (Replacement Equipment) เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้เปลี่ยนชิ้นส่วนที่ติดมากับรถซึ่งเสื่อมสภาพ หรือ
เสียหายเนื่องจากการใช้งาน โดยชิ้นส่วนที่เป็นอะไหล่ยังสามารถแบ่งออกเป็น
2.1 อะไหล่แท้ คือ ชิ้นส่วนที่ผู้ผลิตรถยนต์ผลิตขึ้นเองหรือว่าจ้างให้ผู้อื่นผลิตแทน โดยจะต้องมีคุณภาพได้มาตรฐานตามบริษัทผู้ผลิตรถยนต์นั้น
ด้วย คุณภาพของอะไหล่เหล่านี้จะทัดเทียมกับชิ้นส่วนที่ติดรถยนต์จากโรงงาน
2.2 อะไหล่เทียม คือ ชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นโดยไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมมาตรฐานของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าของ
รถยนต์ชนิดใดเป็นการเฉพาะสำหรับคุณภาพอาจต่ำกว่าหรือสูงกว่าชิ้นส่วนที่เป็นอะไหล่แท้ ชิ้นส่วนประเภทนี้อาจมาจากผู้ผลิตเดียวกันกับที่ผลิตอะไหล่แท้ก็ได้
2.3 อะไหล่ปลอม คือ ชิ้นส่วนที่ผลิตโดยปลอมเครื่องหมายการค้าของอะไหล่ทั้งสองชนิดข้างต้น โดยปกติจะมีคุณภาพต่ำกว่าอะไหล่อื่นๆ การ
ผลิตส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตในโรงงานขนาดเล็ก และใช้เครื่องหมายการค้าอย่างผิดกฎหมาย
      จากการสำรวจโดยสถาบันยานยนต์ ปัจจุบันมีผู้ผลิตชิ้นส่วนโดยตรง

ให้แก่ผู้ประกอบยานยนต์จำนวน 709 ราย ประกอบด้วยผู้ผลิตชิ้นส่วนสำหรับ
รถยนต์ 386 ราย เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำหรับรถจักรยานยนต์ 201 ราย โดยมี
บริษัทที่ถือหุ้นโดยคนไทยทั้งหมดจำนวน 354 คิดเป็นร้อยละ 49.9 และ
บริษัทที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นชาวต่างชาติจำนวน 287 คิดเป็นร้อยละ 40.5 โดย
ส่วนใหญ่เป็นผู้ถือหุ้นชาวญี่ปุ่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นบทบาทของผู้ประกอบการ
ชาวญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลายราย
ไม่ได้ทำการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ทำการผลิตชิ้นส่วน
อื่นๆ ที่ใช้เครื่องมือและเครื่องจักร ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตร่วมกันได้
นอกจากนี้แม้ว่าผู้ผลิตจะทำการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แต่เพียงอย่างเดียวก็
ตาม แต่รถยนต์แต่ละรุ่นนั้น ต้องการชิ้นส่วนในลักษณะที่ต่างกันออกไป
       
         แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีความสำคัญต่อ

เศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถนำเข้าเงินตรา
ต่างประเทศเป็นอันดับ 2 รองจากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน
ในช่วงปี 2545-2549 การผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน มีอัตรา
การขยายตัวที่ผันผวนมาก โดยอัตราการขยายตัวของการผลิตรถโดยสาร
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากร้อยละ 8.6 ในปี 2545 เป็นร้อยละ 48.7 ในปี 2546
 และลดลงร้อยละ -7.7 ในปี 2548 แต่ฟื้นตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.1 ในปี 2549
โดยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยในช่วง 2545-2549 ร้อยละ 14.5 ต่อปี จาก
ปริมาณการผลิตรถยนต์โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 169,304 คัน ในปี
2545 เป็น 298,819 คัน ในปี 2549
ผลจากการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาที่ผ่านมา ทำให้สามารถ
คาดการณ์ได้ว่าภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนใน 5 ปีข้างหน้า
(2550-2554) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไม่มากเหมือนในอดีต แต่ยังคงมีการขยายตัว
ในระดับที่สูง โดยการผลิตรถยนต์โดยสารจะมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อย
ละ 8.3 ต่อปี และในปี 2554 จะสามารถผลิตได้ทั้งสิ้น 515,247 คัน ในขณะที่
อัตราการขยายตัวของรถยนต์ประมาณร้อยละ 13.3 และในปี 2554 จะ
สามารถผลิตได้ทั้งสิ้น 2.1 ล้านค้น และเช่นเดียวกันรถจักรยานยนต์จะมี
อัตราขยายตัวเฉลี่ยประมาณร้อยละ 8 ต่อปี โดยในปี 2554 จะผลิตได้ทั้งสิ้น 4
ล้านคัน
               
แผนภาพแสดงปริมาณการผลิตและแนวโน้มการผลิตของรถจักรยานยนต์ รถยนต์ และรถยนต์โดยสาร


วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เตรียมของที่ได้รับบริจาคบางส่วนแจกชาวบ้าน 1,000 ถุง ในวันที่21 สิงหาคม 2553 โรงเรียนสวนป่าองค์พระ

ของที่จะนำไปบริจาคบางส่วนที่วิทยาลัยสารพัดช่าง สมุทรปราการ และยังมีของที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 14 อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเตรียมที่จะออกเดินทางไปยังโรงเรียนสวนป่าองค์พระในตอนเช้าตรู่วันที่21 สิงหาคม 2553 เวลา 5.00 น

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หมายกำหนดการเดินทางไปทำบุญสวนป่าองค์พระ วันที่21 สิงหาคม 2553

ขอสรุปแจ้งกำหนดการในวันงานและจุดขึ้นรถ สำหรับสมาชิกผู้ร่วมเดินทางทุกท่านทราบโดยพร้อมเพรียงกัน ดังนี้

กำหนดการเดินทาง โดยรถบัสปรับอากาศ ๔๕ ที่นั่ง จำนวน ๒ คัน
วันเสาร์ที่ ๒๑ ส.ค. ๕๓
๔.๕๐ น. จุดนัดพบ/ขึ้นรถที่ ๑ โรงเรียนสารพัดช่าง สมุทรปราการ
๕.๓๐ น. จุดขึ้นรถที่ ๒ ปั๊มน้ำมัน ปตท. สาขาวิภาวดี
(ตรงข้ามโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี-มหาวิทยาลัยหอการค้า)
๐๕.๔๕ น. จุดขึ้นรถที่ ๓ ป้ายโดยสารรถประจำทาง
(ตรงข้ามห้างสรรพสินค้าพันธุ์ทิพย์ สาขางามวงศ์วาน)
๐๙.๐๐ น. เดินทางถึงโรงเรียนสวนป่าองค์พระ
- จัดเตรียมสถานที่-อาหาร
๑๐.๐๐ น พิธีเปิดโครงการ
- การแสดงของนักเรียน จำนวน ๓ ชุด
- ร่วมเกมส์สอยดาว
- ร่วมละเล่นเกมส์ต่าง ๆ
- บริการตัดผม (ฟรี)
- พระเดชพระคุณพระสมุห์ปรินทร์ ธฺมมสรโณ (หลวงพี่เอก) เป็นองค์ประธานมอบของรางวัลให้กับเด็ก ๆ
- ถวายภัตตาหารเพลแด่คณะพระวัดเขาแร่ อ.ทุ่งเสลี่ยม กรุงสุโขทัย
๑๒.๐๐ น. ร่วมรับประทานอาหารตามซุ้ม
๑๓.๐๐ น. ร่วมละเล่นเกมส์ ,กิจกรรมต่าง ๆ
๑๕.๐๐ น. พระเดชพระคุณพระสมุห์ปรินทร์ ธฺมมสรโณ เป็นองค์ประธานมอบเงินและิสิ่งของ
๑๕.๓๐ น. ปิดงาน
- เดินทางไปกราบ "หลวงปู่นาม" พระอริยสงฆ์เมืองสุพรรณ (แล้วแต่วาระธรรมะจัดสรร)
- แวะอนุสรณ์ดอนเจดีย์
 กราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดป่าเลไลย์วรวิหาร
๑๙.๐๐ น. ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ฟรี)
Link ร่วมบุญงานสาธารณประโยชน์ตามรอยพ่อ..โครงการพระพุทธศาสนาสงเคราะห์ในถิ่นทุรกันดาร รร.สวนป่าองค์พระ
http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=1936
"มีบุญวาสนาร่วมกัน อยู่ห่างกันพันลี้ ยังมีวันได้พบกัน
ไม่มีบุญวาสนาร่วมกัน แม้อยู่ต่อหน้า ก็หาเห็นกันไม่
นี่คือสัจธรรมของกฎแห่งกรรม
กรรมพัวพันในอดีตสู่ปัจจุบันของมนุษย์ชาติ"
*-* Nyada Sarapaiwanich.

รายนามผู้บริจาคเพื่อเป็นอาหารกลางวัน ทุนการศึกษา และโรงเรียนเพาะเห็ดให้โรงเรียนสวนป่าองค์พระ ต.ด่านช้างจ.สุพรรณบุรี

รายชื่อผู้ร่วมทำบุญใหญ่ โครงการพระพุทธศาสนาสงเคราะห์ในถิ่นทุรกันดาร(3)

ณ. โรงเรียนส่วนป่าองค์พระ ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
ลำดับ ชื่อ-นามสกุล                                                                     จำนวนเงิน
1       กิ้มฮวย แซ่อึ้ง                                                                         100.00
2       พี่ชูชีพ มีชัย                                                                             500.00
3       ชุลีพร สอนไว                                                                          200.00
4       ประไพ ชินสกุล                                                                        200.00
5      มุ่ยยุก แตงจันทร์ (เจ๊เล็ก)                                                          200.00
6      วรรณณา จิราวิภาพันธุ์ (ม่าขุ้น                                                  500.00
7      ทิพยา ลีลาไชยนันท์                                                                  500.00
8      สมบุญ ตันฑัตสวัสดิ์ (เจ้จือ)                                                      200.00
9      สุปาณี วิวัฒนผล (ม่าฮวง)                                                         200.00
10    ม่าเกียว และครอบครัว                                                               500.00
11    เพียงพร เกิดสุวรรณ                                                                   100.00
12    ทวีวัตน์ เถิดสุวรรณ                                                                      20.00
13    คุณแป่ว ลิมป์รัตนกาญจน์                                                       2,000.00
14    เตียวซิวบ้วย แซ่เตีย                                                                5,000.00
15    องอาจ นรากุลมงคล และ พิมพ์พันธุ์ นรากุลมงคล               10,000.00
16    สุชาดา เหล่าหงษ์ทอง (อาม่าเกียง)                                        2,000.00
17    สุมน ศิริมงคลเกษม (ม่ากุง)                                                       500.00
18    สุนีย์ แสงทองพินิจ (เจ๊เฮียง)                                                      200.00
19    อรนพ วรยศโกวิท (เฮียเม้ง)                                                       500.00
20    ชุณ ฉายาวรกุล (เฮียชุน)                                                         1,000.00
21    ลลิยา กสิกิจวรกุล (เจ๊ง้อ)                                                           500.00
22    วันทนีย์ วิตืมหาคุณ (เจ๊เอง)                                                    1,000.00
23    เยาวลักษณ์ ฉัตรโชติธรรม (เจ๊กุลสาว)                                      500.00
24    เปมิกา อัศวกานนท์ (เจ๊เกียง)                                                     500.00
25    วิโรจน์ ฉัตรโชติธรรม (ยูอี)                                                      1,000.00
26    วารุณี กังวาลไชยงณิชย์(เจ๊ณี)                                                   200.00
27   พรรณี ธเนศวรสรรค์(เจ๊ณีสาว)                                                    200.00
28    สุวรรณี ศรีศักดิ์วรากุล                                                             1,000.00
29    สกุล การุญ สิทธิพรพันธ์                                                         1,000.00
34    นันทา อิสระกุล                                                                          730.00
35    มาณี แซ่ตั้ง                                                                                730.00
36    สุจินต์ มหาเหมรัตน์                                                                    730.00
37    กรรณิกา ติยะวิวัฒน์                                                                    730.00
38   ชูชาติ ธีระชีพและคณะ                                                             5,350.00
39   บริษัท บริษัทฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย) จำกัดและพนักงานฯ  8,536.00
40  บริษัทสแกนอินเตอร์ จำกัด                                                        5,000.00
41   บริษัท ไฮ. เซรามิค จำกัด                                                       10,000.00
42   บริษัท ตะวันออกโปลีเมอร์อุตสาหกรรม จำกัด                        10,000.00
43 บริษัท ดี เอ็ม เอส เทค จำกัด(ค่าเหมารถตู้)                               4,500.00
                                                            ยอดรวม                            76,626.00



โรงเรือนเพาะเห็ดที่ได้รับบริจาค จากคณะชาวหมู่บ้านลดาวัลย์ ศรีนครินทร์ เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้กับเด็กโรงเรียนสวนป่าองค์พระ ต.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี และจะส่งมอบให้ในวันที่21 สิงหาคม 2553 พร้อมกับข้าวสาร จำนวน 20 กระสอบ ทุนการศึกษาจำนวนหนึ่ง

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ปักษาวายุภักษ์ หรือนกการเวก นั้น เรียกกันอีกชื่อหนึ่งในวรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วงว่า นกกรวิค อธิบายว่ามีเสียงไพเราะยิ่งนัก สัตว์ทุกชนิดเมื่อได้ยินเสียงนกกรวิคแล้วจะต้องหยุดฟัง










 มาทำความรู้จักกับปักษาวายุภักษ์

เป็นนกที่ปรากฏชื่อในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ว่า อสูรวายุภักษ์ รูปร่างเป็นนกอินทรี ตัวและหน้าเป็นยักษ์ มีปีก มีหาง มีเท้าเหมือนครุฑ แต่หางมีแววเหมือนนกยูงตามประวัติในเรื่องรามเกียรติ์ว่า วายุภักษ์มีพ่อเป็นอสูรผู้ครองกรุงวิเชียร ซึ่งอยู่ที่เชิงเขาจักรวาลเป็นยักษ์ที่มีฤทธิ์มาก จึงมักจะเที่ยวข่มเหงรังแกเทวดาและฤาษีชีไพรอยู่เสมอ เมื่อพระรามพระลักษมณ์ออกเดินดงครั้งที่ 2 อสูรวายุภักษ์บินผ่านมาพบเข้าจึงโฉบลงมาจับพระราม พระลักษณ์จะนำไปกินเป็นอาหาร หนุมาน สุครีพ และไพร่พลลิงก็รีบตามไปช่วย และได้เข้าต่อตีกับอสูรวายุภักษ์
ในที่สุดก็ช่วยพระราม พระลักษมณ์ไว้ได้ และองคตกับนิลพัทก็ได้ฆ่าอสูรวายุภักษ์ตาย รูปนกวายุภักษ์ เดิมเป็นตราตำแหน่งพระยาราชภักดี ผู้มีหน้าที่เป็นหัวหน้าทำการคลังมาก่อน คณะเสนาบดีในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้กำหนดให้นำตรานกวายุภักษ์มาใช้เป็นตรากระทรวงพระคลัง และใช้เป็นตรากระทรวงการคลังติดต่อกันเรื่อยมา โดย สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงใช้รูปนกการเวกเป็นแบบการเขียนตราวายุภักษ์
นอกจากนี้ในพระบาลีระบุว่าเสียงของพระพุทธเจ้านั้นเหมือนเสียงพรหม แจ่มใสชัดเจน อ่อนหวาน สำเนียงเสนาะ ไม่แตก ลึกซึ้ง มีกังวาลไพเราะและเหมือนเสียงนกการเวก ส่วนอาหารของนกการเวกนั้น มีกล่าวไว้ในคัมภีร์ปัญจสุทนีว่า นกการเวก กินน้ำมะม่วงสุกเป็นอาหาร แต่โดยที่นกชนิดนี้หายากหลงเข้าใจกันแต่ว่าอยู่บนท้องฟ้ากินลมเป็นอาหารจึงตั้งชื่อว่า วายุภักษ์ ก็มีเช่นกัน ตามวรรณคดีไตรภูมิพระร่วงนั้น กล่าวว่าขนนกการเวกนั้นเป็นที่ต้องการเพราะกลายเป็นทองคำได้



ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวว่าตราปักษาวายุภักษ์ เป็นตราของพระยาราชภักดีฯ เจ้ากรมพระจำนวน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับภาษีอากร ต่อมาเมื่อโปรดให้ตั้งกระทรวงพระคลังฯและใช้ตราพระสุริยมณฑลแล้ว ตราปักษาวายุภักษ์ก็เลิกใช้ แต่นำเอามาใช้เป็นเครื่องหมายกระทรวงการคลัง นกวายุภักษ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ตรัสอธิบายไว้ดังนี้ "ถ้าแปลตามคำก็ว่า นกกินลม ข้อยากในนกนี้เกิดขึ้นในที่ประชุมเสนาบดี สั่งให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียนผูกตรากระทรวงต่างๆเป็นลายข้อมือเสื้อเครื่องแบบ หากเป็นตราเก่าซึ่งมีตราประจำกระทรวงอยู่แล้ว จะเอามาใช้ได้ให้ใช้ตราเก่า ที่เป็นกระทรวงใหม่ไม่มีตรามาแต่เดิมจึงคิดผูกขึ้นใหม่
โดยคำสั่งอย่างนี้กระทรวงใดก็ไม่ยากเท่ากระทรวงคลัง ซึ่งเดิมพระยาราชภักดีฯทำการในหน้าที่ เสนาบดีกระทรวงพระคลัง คือตรานกวายุภักษ์ รูปนกวายุภักษ์ในตรานั้นก็เป็นนกแบบสัตว์หิมพานต์ เหมือนกับนกอินทรีย์ ฉะนั้นไม่ทรงเชื่อว่าถูก จึงได้ทรงรำลึกต่อไป ก็ทรงรำลึกได้ว่า มี ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งซึ่งมีความว่าทรงพระมาลาปักขนนกวายุภักษ์ ก็ทรงค้นหาพบในหมายท้ายหนังสือพระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนริทรเทวี
เมื่อมีคำปรากฏเช่นนั้น นกวายุภักษ์ก็คือ นกการเวก เพราะพระมาลาทุกชนิดที่ปักขนนก ย่อมใช้ขนนกการเวกอย่างเดียวเป็นปกติ เมื่อทรงดำริปรับนกวายุภักษ์กับนกการเวกเข้ากัน ก็เห็นลงกันได้โดยมีทางเราพูดกันว่า นกการเวกนั้นมีปกติอยู่ในเมฆบนฟ้า กินลมเป็นภักษาหารตามที่ว่าพิสดารเช่นนั้น ก็เพราะนกชนิดนั้นในเมืองเราไม่มีและที่ว่ากินลมก็เพราะในเมฆไม่มีอะไร
นอกจากลมจึงให้กินลมเป็นอาหาร แต่เมื่อปกติของมันอยู่ในเมฆแล้วก็ไฉนเล่ามนุษย์จึงได้ขนมันมาปักหมวก เชื่อว่าเพราะเหตุที่น่าสงสัยเช่นนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงตรัสสั่งไปต่างประเทศที่ส่งขนนกชนิดนั้นเข้ามา ให้ส่งตัวนกเข้ามาถวาย จึงได้ตัวจริงเป็นนกยัดไส้มีขนติดบริบูรณ์เข้ามา ก็เป็นนกที่เรียกตามภาษาอังกฤษ Paradise Bird ซึ่งที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษเช่นนี้ นึกว่าแปลมาจากภาษาแขก ความก็ว่าเป็นนกฟ้าเราคงได้ฟังแขกเขาว่า จึงละเมอตามไป
เมื่อได้นกยัดไส้เข้ามาแล้วจึงทรงจัดเอาขึ้นเกาะคอนมีด้าม ให้เด็กถือนำพระยานุมาศในงานสมเด็จเจ้าฟ้าโสกันต์ ตามที่ได้พยานมาว่าเป็นนกอยู่ในแผ่นดิน ไม่ใช่นกอยู่ในฟ้าเช่นนั้น ใครจะเชื่อกันหรือไม่ก็หาทราบไม่ แม้ราชสีห์เมื่อได้ตัวจริงมาบอกใครว่า นี่แหละราชสีห์ก็ไม่มีใครเชื่อด้วยไม่เหมือนกับที่เราปั้นเขียนกัน ตามที่เราปั้น เขียนกันนั้น ขาดสิ่งสำคัญที่ไม่มีสร้อยคอ อันจะพึงสมชื่อว่า ไกรสร หรือ ไกรสรสีห์ หรือ ไกรสรราชสีห์

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขอเชิญร่วมทำบุญใหญ่ ในวันเสาร์ที่21 สิงหาคม 2553 ที่โรงเรียนสวนป่าองค์พระ ต.ด่านช้างจ.สุพรรณบุรี

ขอเชิญร่วมทำบุญใหญ่ ในวันเสาร์ที่21 สิงหาคม 2553

โครงการพระพุทธศาสนาสงเคราะห์ในถิ่นทุรกันดาร (๓)
ณ โรงเรียนสวนป่าองค์พระ
ต.ด่านช้าง อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
โครงการนี้จะนำอุปกรณ์การเรียน อุปกรณ์กีฬา ทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวัน
ข้าวสาร-อาหารแห้ง ของเล่น เครื่องใช้ เสื้อผ้า
ขนมต่าง ๆ และสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็น
ทำอาหารกลางวันเลี้ยงสำหรับเด็ก ๆ
(มีนักเรียนจำนวน ๑๐๘ คน)
บริการตัดผมเด็กฟรี ทั้งชายและหญิง เป็นต้น
ท่านใดอยากร่วมบุญบริจาคเงินและสิ่งของขอเรียนเชิญได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
หลวงพี่เดี่ยว วัดเขาแร่ : เบอร์มือถือ ๐๘๗-๓๓๕๘๗๒๙
คุณณญาดา (หญิง) : เบอร์มือถือ ๐๘๑-๗๓๕๙๒๖๑
คุณศุภกร : เบอร์มือถือ ๐๘๔-๔๕๖๙๘๕๒
คุณองอาจ 0815990330
งานนี้ถือว่าได้ร่วมแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการช่วยชาติช่วยแผ่นดิน ให้เด็กไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อเป็นพลังของชาติต่อไป
อานิสงส์นั้นมหาศาล ไม่ว่าจะเกิดกี่ชาติก็ตาม คำว่าอด คำว่าไม่มี จะไม่บังเกิด
จะเกิดในตระกูลสูง มีทรัพย์ศฤงคารมากมาย พร้อมด้วยบริวารที่ซื่อสัตย์
ไปที่แห่งหนตำบลใดก็จะเป็นที่รัก ใครเห็นใครชอบ เป็นที่นับหน้าถือตา
จะแคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆนาๆ รวมถึงภัยพิบัติต่างๆฯลฯ
หากท่านใดต้องการใบอนุโมทนา ขอให้แจ้งชื่อ นามสกุลให้ชัดเจน ได้ตามเบอร์ข้างบนนี้
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน
ในโครงการพระพุทธศาสนาสงเคราะห์ในถิ่นทุรกันดาร 3
ณ โรงเรียนสวนป่าองค์พระ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนยากจน และขาดแคลน จำนวน 108 คน
สภาพบ้านเรือนที่อาศัยทรุดโทรม พ่อแม่ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้างตัดอ้อย ถางหญ้าในไร่ หาของป่ามาขาย รายได้เฉลี่ยต่อปีไม่ถึง 15,000 บาท เด็กต้องหยุดเรียนเพื่อมาช่วยพ่อแม่ทำงาน ทำให้ขาดเรียนเป็นประจำ ทางโรงเรียนของบค่าอาหารกลางวันได้เพียงหัวละ 12 บาท ซึ่งไม่เพียงพอ (ชั้นอนุบาล – ประถม 6)
จึงขอเมตตาจิตจากท่านผู้ใจบุญร่วมบริจาค ปัจจัยและสิ่งของต่างๆ ตามแต่กำลัง
1. ข้าวสารอาหารแห้ง น้ำมัน น้ำปลา น้ำตาล เครื่องปรุงอาหารต่างๆ
2. ทุนอาหารกลางวัน / ทุนการศึกษา
3. ชุดนักเรียน ชุดกีฬา ทั้งใหม่และเก่าที่ยังสภาพดี รวมถึงเสื้อผ้าผู้ใหญ่
4. ขนม ของเล่น ตุ๊กตา ทั้งใหม่และเก่า
5. อุปกรณ์การเรียน/อุปกรณ์กีฬา รวมถึงคอมฯเก่า แต่สามารถใช้งานได้
6. อื่นๆ ตามแต่เห็นสมควร
ร่วมบริจาคได้ที่บัญชี น.ส. ณญาดา ศราภัยวานิช ธนาคารกสิกรไทย
สาขา : บางบัวทอง เลขที่บัญชี 527-2-07192-8 ประเภทบัญชี : สะสมทรัพย์




                                 เล่าสู่กันฟังกับความจริงของการศึกษาในเมืองไทย ณ โรงเรียนทุรกันดาร
ได้มีโอกาสพูดคุยกับท่านผู้อำนวยการโรงเรียนสวนป่าองค์พระ เพราะเห็นว่าช่วงนี้ฝนตกบ่อยเกือบทุกวันเนื่องจากเป็นฤดูฝน ถามว่าขณะนี้โรงเีรียนเดือนร้อนเรื่องใดมากที่สุด ได้รับคำตอบว่า เรื่องหลังคากันแดด กันฝน เนื่องจากอาคารเรียนได้สร้างหันหน้าเข้าหาทิศทางของแดดและฝน ทำให้เวลาแดดออกหรือฝนตก จะสาดส่องเข้าในห้องเรียนแบบเต็มที่ทำให้มีปัญหาต่อการเรียนและการสอนพอสมควร
ถามต่อว่าแล้วด้านอาหารการกินของนักเรียน งบประมาณที่ได้รับเพียงพอหรือไม่ ท่านตอบว่าไม่เพียงพอแต่ก็ใช้วิธีการถัวเฉลี่ยในแต่ละเดือน ข้าวสารที่ใช้ในการหุงให้นักเรียนตกวันละ ๑ ถัง หนึ่งเทอมคือประมาณ ๒๐ กระสอบ แต่ไม่เคยพอ
เรื่องอุปกรณ์การเรียนเ็ป็นอย่างไรบ้าง เพียงพอหรือไม่ คำตอบที่ได้รับคือไม่พอแต่ก็เช่นเดียวกัน ก็จะจัดสรรให้กับเด็กที่ขาดแคลนมากกว่า
เสื้อผ้าชุดนักเรียนน้อง ๆ มีพอใส่ไหมคะ คำตอบ ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณจัดสรรเรื่องเสื้อผ้าให้นักเรียนปีละ ๒ ชุด เป็นชุดนักเรียน ๑ ชุด ชุดกีฬา ๑ ชุด ถามว่าพอไหม ไม่เคยพอเด็ก ๆ ก็ต้องเอาเสื้อผ้าที่ได้รับแจกในปีเก่า ๆ มาใส่ (น้อง ๆ หลายคนที่ผู้ปกครองมีเงินซื้อเสื้อผ้าใหม่ให้เทอมละหลายชุด ฟังแล้วเศร้าใจไหมคะ)
แล้วหัวใจสำคัญคือการศึกษา ครูผู้สอนมีเพียง ๓ คนรวมท่านผู้อำนวยการเป็น ๔ คน นักเรียนมี ๘ ห้อง แบ่งการเรียนการสอนกันอย่างไรคะ ช่วย ๆ กันสอน ขณะนี้ยังพอช่วยกันได้แต่หลังจากสิ้นเดือนกันยายนนี้ ครูอัตราจ้างสอนระดับประถมซึ่งเป็น ๑ ใน ๒ คนที่โรงเรียนจ้างอยู่กำลังจะหมดสัญญาจ้าง และยังไม่ทราบว่าจะหางบที่ไหนมาจ้างสอนต่อ เนื่องจากทำเรื่องขอไปก็ไม่ได้รับการพิจารณาอนุมัติ ถ้าไม่มีเงินจ้างก็ต้องหาวิธีแก้กันต่อไป และถ้าไม่มีเงินนั้นหมายถึงเทอมที่สอง น้อง ๆ ทั้งโรงเรียนจะเหลือครูผู้สอนเพียง ๓ คน
แล้วครูอัตราจ้างสอนทางโรงเรียนจ้างเดือนละเท่าไร เดือนละ ๔,๕๐๐ บาท (โอ้! แม่เจ้า ฟังแล้วก็ตกใจเดือนละ ๔,๕๐๐ บาทนี่นะ ตกวันละ ๑๕๐ บาท นี่หรือคือค่าแรงของครูอัตราจ้างสอน) ครูระดับอนุบาลและประถมจ้างเท่ากัน เพราะทางโรงเรียนไม่มีเงินพอที่จะจ้างได้มากกว่านี้ ค่าจ้างต่อคนประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาทต่อเทอม เป็นอย่างไรคะ ได้ยินแล้วหดหู่ไหม เงิน ๔,๕๐๐ บาท หรือเงิน ๒๐,๐๐๐ บาทที่บางคนอาจจะมองว่าเล็กน้อยบางคนในแต่ละเดือนหาได้อย่างง่ายดาย กินใช้อย่างสบาย..... แต่รู้ไหมว่า เงิน ๔,๕๐๐ บาท เท่ากับค่าจ้างครูได้ ๑ เดือน และเงิน ๒๐,๐๐๐ บาทเท่ากับค่าจ้างครูได้ถึง ๑ เทอม
เงินจำนวนนี้จะมีคุณค่าต่อการได้ช่วยให้เด็กหลายคนมีการศึกษาที่พร้อมไม่ใช่มีแต่ตึก มีแต่อาคารเรียนที่สร้างทิ้งไว้ให้ แต่ขาดการส่งเสริมในด้านบุคลากร และในทุก ๆ ด้าน
ถึงเวลาหรือยังที่ทุกคนจะหันมาช่วยกันส่งเสริมเติมเต็มให้กับแหล่งที่ขาดแคลน เศษเงินเพียงน้อยนิดของทุกท่าน นั้นหมายถึงเงินมหาศาลที่จะช่วยเหลือเด็กได้หลายคน อย่ามองว่าขณะนี้มีความช่วยเหลือจากกระทรวงฯ ในทุกด้าน ทั้งด้านเรียนฟรี เสื้อผ้าฟรี อาหารกลางวันฟรี แต่ขอให้มองว่า "ความช่วยเหลือที่มาจากนโยบาย และความช่วยเหลือที่มาจากการปฎิบัติมักสวนทางกันเสมอ"
มองลงไปลึก ๆ ในความเดือนร้อนที่เด็ก ๆ กำลังได้รับอย่างจริงจัง มองลงไปลึก ๆ กับความเป็นจริงของการศึกษาไทย มองลงไปให้ลึก ๆ กับสภาพบ้านเรือนที่เป็นอยู่และมองเห็น ลำพังแค่หาเลี้ยงปากเลี้ยงท้องในแต่ละวันก็หนักหนาสาหัสพอแล้ว... อย่าให้พวกเขาต้องมาโรงเรียนด้วยความอดอยาก และนั่งสูญเสียเวลาในห้องเรียนไปในแต่ละวันเลย เพราะสุดท้ายจากความสนุกที่ต้องการจะมาโรงเรียนเพื่อมาเรียนหนังสือ มารับความรู้ ก็จะกลายเป็นความน่าเบื่อหน่ายที่มาเพื่อมานั่งเล่นกับเพื่อน มานั่งเฉย ๆ เพราะขาดครูผู้สอน
นี่ล่ะ คือความเป็นจริงที่ได้ถามด้วยปากและได้ยินมาด้วยสองหูของตัวเอง
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ผู้อำนวยการโรงเรียนสวนป่าองค์พระ คุณครูสุธารา สว่างพล
เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๑-๕๖๔๗๖๒๙ (081-5647629)
สิ่งที่โรงเรียนต้องการในขณะนี้
๑. ข้าวสาร (เทอมละ ๒๐ กระสอบ)
๒. อาหารแห้ง อาทิ น้ำมัน น้ำปลา น้ำตาล ฯลฯ
๓. ทุนการศึกษา
๔. ค่าจ้างครูอัตราจ้างสอน (เดือนละ ๔,๕๐๐ บาทจะหมดสัญญาจ้างในเดือน ก.ย.)
๕. ค่าทำหลังคากันสาด เนื่องจากอาคารเรียนตั้งหันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก ทำให้นักเรียนประสบปัญหาแดดส่องเข้าไปในห้องเวลาเรียน และประกอบกับขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝน เวลาฝนตกจะสาดเข้าห้องเรียนทำให้ยิ่งลำบากมากขึ้น ขนาดของกันสาดที่ต้องการคือ ความยาว ๓๖ เมตร กว้าง ๑.๕๐ เมตร เพื่อสามารถให้กันฝนและกันแดดได้ (ยังไม่ได้ประเมินราคา)
          ได้รับแจ้งจากคุณองอาจ นรากุลมงคล และครอบครัว ขอร่วมบุญ ดังนี้
1. ข้าวสาร จำนวน 13.5 กระสอบ รวมเป็นเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท
2.คุณชูชาติ  ธีระชีพ บริจาคข้าวสาร  6.7 กระสอบ รวมเป็นเงิน 5,350 บาท
3.ได้รับเงินจากพนักงานบริษัทฮีโนฯ(ประเทศไทย) และบริษัทฯรวมกัน  8,536 บาท
4.ชาวหมู่บ้านลดาวัลย์ ศรีนครินทร์ ประมาณ 30,840 บาท(ยังสรุปรวมยอดไม่เสร็จ)
5.คุณณัชชา บริษัทสแกนอินเตอร์ จำกัด บริจาค 5,000. บาท
6.คุณจ๋า แก้วคอนไทย ป้าเคลื่อน  บริจาค 5,000 บาท
7.คุณอัศวิน ขวัญยืน  ขนมยูโร่ ครึ่งรถปิ๊กอัพ พร้อมเสื้อผ้า 1 ลังใหญ่
กราบโมทนาเป็นอย่างสูง 9/8/2553  21.49 น.

หมายกำหนดการเดินทาง

๐๕.๒๐ น. นัดพบ ปั้มน้ำมัน ปตท.สนามเป้า
๐๕.๓๐ น. ล้อหมุน
- แวะรับประทานอาหารเช้าระหว่างทาง (ตามอัธยาศัย)
- กราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร
- กราบสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
๐๙.๐๐ น. เดินทางถึงโรงเรียนสวนป่าองค์พระ
- พระเดชพระคุณพระสมุห์ปรินทร์ ธฺมมสรโณ (หลวงพี่เอก) ร่วมกิจกรรมจัดมอบสิ่งของให้กับเด็ก ๆ และทางโรงเรียน
- เดินทางไปกราบ "หลวงปู่นาม" พระอริยสงฆ์เมืองสุพรรณ
๑๕.๐๐ น. คณะบึงลับแลกราบลาพระเดชพระคุณหลวงพี่เอกเดินทางต่อไปตลาด ๑๐๐ ปี สามชุก
๑๗.๐๐ น. เตรียมตัวเดินทางกลับ
๑๙.๐๐ น. ถึงกรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ฟรี)
หมายเหตุสถานที่ตามกำหนดการในทริปนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมหน้างาน ตามวาระธรรมะจัดสรร
http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=1936

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การจัดทำฐานข้อมูลธุรกิจห้องเช่า

ตัวอย่างการทำฐานข้อมูละธุรกิจห้องเช่าแมนชั่น


 
                       
                                                                   

การจัดทำฐานข้อมูลธุรกิจสปา

ตัวอย่างการจัดทำโปรแกรมฐานข้อมูลธุรกิจสปา